โพสต์แนะนำ

" 7 เทคนิคดีๆการป้องกันความจำเสื่อม "

" 7 เทคนิคดีๆการป้องกันความจำเ สื่อม " ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที ่มากเพียงพอที่จะบอกได้อย่า งชัดเจนว่าวิธีใดป้องกันภาว ะความจำเ...

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

" Tips and Touch " เข้าใจและดูแลภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากการใช้ยารักษาโรคเบาหวาน

" Tips and Touch " เข้าใจและดูแลภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากการใช้ยารักษาโรคเบาหวาน

ผู้ที่เป็นเบาหวานเมื่อได้เริ่มทำการรักษาแล้ว แพทย์จะจ่ายยาไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบยารับประทานหรือยาฉีด จะขึ้นกับความรุนแรงของโรคเบาหวานที่ท่านเป็น รวมถึงโรคร่วม ของแต่ละท่าน ซึ่งจะแตกต่างกัน 


โดยทั่วไปแพทย์จะให้ความรู้การดูแลตัวเอง การสังเกตุอาการและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ "ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ" ซึ่งเป็นภาวะที่มีความสำคัญเนื่องจากมีอันตรายถึงชีวิต แต่หาก เกิดอาการแล้วควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ถูกต้อง และควรแจ้งให้กับแพทย์ผู้ที่ดูแลประจำ เพื่อการปรับยาและการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจะมีอาการดังนี้ คือ ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกหิว บางครั้งอาจจะมีอาการใจสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น ตาลาย บางรายครับเป็นมากๆอาจจะมีอาการมึนงงมาก รวมถึงเกิดอาการทางสมอง เช่น อาการชักเกร็ง อาการคล้ายอัมพาต กล่าวคือ มีแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก หน้าเบี้ยว คล้ายกับโรคหลอดเลือดสมองได้ หากเป็นมากอาจส่งผลถึงหมดสติและไม่รู้สึกตัวได้

ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคหมดสติจากภาวะทำตามในเลือดต่ำหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แต่หากเป็นตั้งแต่ระยะแรกๆ การกินของหวานๆเช่น น้ำหวาน หรือลูกอม อาการก็จะหายทันที

---------------------------

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ ที่พบบ่อยมีดังนี้ครับ

1. ได้รับยาขนาดที่มากจนเกินไป
2. การบริหารยา เช่น การรับประทานยา หรือ การฉีดยาไม่ถูกเวลา ไม่สัมพันธ์กับมื้ออาหารโดยมากมักจะใช้ยาไปแล้วแต่ไม่รับประทานอาหาร รับประทานได้ไม่เพียงพอ
3. การงดอาหารได้บางมื้อ กินผิดเวลาไปมาก
4. การออกแรง ออกกำลังกายมากจนเกินไป
5. การรับประทานยาอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการขับยาเบาหวาน เช่น ยาแก้ปวดจนมีผลกระทบจนเกิดภาวะไตวาย
6. การมีโรคแทรกซ้อนเกิดร่วมกับเบาหวาน เช่น ภาวะไตวาย ตับวาย หัวใจวาย เป็นต้น

---------------------------

วิธีแก้ไขภาวะน้ำตาลต่ำ

โดยมากแพทย์จะให้ความรู้เกี่ยวกับอาการของภาวะน้ำตาลต่ำ เช่น ถ้าผู้ป่วยรู้สึกมีภาวะใจสั่น หวิว ตาลายหรือ มีสาเหตุดังที่กล่าวไปแล้วร่วมด้วย อาจหาของหวานอย่างใดอย่างหนึ่งรับประทานเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด เช่น น้ำตาล ลูกกวาด ทอฟฟี่ น้ำหวาน น้ำผลไม้ หรือ นมประมาณซักหนึ่งถึงสองแก้ว รวมถึงผลไม้ที่เคี้ยวง่าย เป็นต้น เมื่อให้ รับประทานแล้วให้ผู้ป่วยนั่งพักสักครู่ ให้หัวสูง ไม่ควรนอนราบเพราะอาจทำให้เกิดอาการสำลักอาหารเข้าปอดได้ แต่สังเกตแล้วไม่ดีขึ้นภายใน 15 นาทีแนะนำให้พบมาหาแพทย์นะครับ

หากอาการเป็นมากถึงขั้นเป็นลมหมดสติ ตัวเย็นเหงื่อแตก หรืออาการคล้าย โรคเลือดสมอง ให้นั่งยกศีรษะให้สูง ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล ไม่ควรให้ทดลองกินอาหารในขณะที่หมดสติ เนื่องจากจะทำให้สำลักและเกิดภาวะแทรกซ้อนและระบบหายใจได้

และที่สำคัญหากผู้ป่วยเบาหวานเกิดอาการเจ็บป่วยไม่สบายในขณะที่แพทย์ได้ให้การใช้ยาเบาหวานในรูปแบบใดก็ตาม ควรจะตระหนักถึงภาวะน้ำตาลต่ำที่อาจเกิดขึ้นได้

หากท่านไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ หรือรับประทานได้น้อยลงมาก ก็ไม่ควรรับประทานยาหรือใช้ยาเบาหวาน ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการเจ็บป่วยและติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างถูกต้องเหมาะสมจะเป็นการดีกว่าครับ

ด้วยรัก

นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )

โรงพยาบาลผู้สูงอายุและกายภาพบำบัด Chersery home

บอก"รัก"ผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแล Your trusted nursing home

#ดูแลผู้สูงอายุ
#Nursinghome
#ดูแลคนชรา
#ดูแลคนแก่
#อายุรกรรม
#อายุรแพทย์
#กายภาพบำบัด
#เวชศาสตร์ฟื้นฟู
#สถานพยาบาล
#พยาบาลผู้สูงอายุ
#โรงพยาบาล
#โรงพยาบาลผู้สูงอายุ

Tel: 094-426-4439
087-075-0527

Line id: cherseryhome
Facebook: cherseryhome
www.cherseryhome.com
Cherseryhome@gmail.com

Www.cherseryhome.com

ขอขอบคุณภาพสวยๆจาก cr:www.vitamindcouncil.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น