โพสต์แนะนำ

" 7 เทคนิคดีๆการป้องกันความจำเสื่อม "

" 7 เทคนิคดีๆการป้องกันความจำเ สื่อม " ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที ่มากเพียงพอที่จะบอกได้อย่า งชัดเจนว่าวิธีใดป้องกันภาว ะความจำเ...

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

" รวม 5 เทคนิคการป้องกันการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ "

" รวม 5 เทคนิคการป้องกันการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ "


1. ใส่ใจเรื่องยา

รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอและตรวจติดตามกับแพทย์เป็นระยะๆทุกครั้ง และเมื่อได้ยากลับมาบ้านให้ตรวจดูชื่อยา จำนวนเม็ดยาว่าเพียงพอหรือไม่ รวมถึงวันหมดอายุและสภาพซองบรรจุยาว่าอยู่ในเกณฑ์ดีไม่ มีลักษณะบุบสลาย แตกหักเสียหายหรือเปล่า 

2. เตรียมพร้อมข้อมูล

หากเป็นไปได้ควรจดชื่อยาและลักษณะการใช้ไว้ รวมถึงชื่อโรคที่เป็นโรคประจำตัวของท่านและยาที่เคยแพ้ใส่กระดาษติดตัวเพื่อเป็นข้อมูลของตนเอง และหากจะพบแพทย์ในครั้งต่อไปให้เตรียมข้อมูลว่าท่านมีปัญหาในการใช้ยาที่ผ่านมาหรือไม่ พร้อมนำยาที่รับประทานทั้งหมดไปให้แพทย์ตรวจเช็คเป็นระยะๆนะครับ

3. เริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนก่อ

พยามเริ่มต้นการรักษาอาการต่างๆในรูปแบบที่ไม่ใช้ยาก่อน เช่นอาการนอนไม่หลับ ควรเน้นเพิ่มออกกำลังกายทำกิจวัตรประจำวันในช่วงเวลากลางวันที่มากขึ้นจะทำให้ท่านรู้สึกใช้แรงและเหนื่อยมากพอ ที่อาจจะช่วยให้นอนหลับได้ สนิทมากขึ้น หรือหากมีอาการท้องผูก อาจจะเริ่มต้นด้วยการรับประทานอาหารผักผลไม้ที่มีกากใยมาก รวมถึงการดื่มน้ำให้เพียงพอหกถึงแปดแก้วต่อวันก็อาจจะช่วยเรื่องอาการท้องผูกได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งยามากนัก

4. ไม่ควรซื้อยาเอง

หลีกเลี่ยงการซื้อยามารับประทานเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาสมุนไพรยาต้ม ยาลูกกลอน เนื่องจากยาเหล่านี้จะสร้างผลเสียแก่ร่างกายและอาจเกิดปฏิกิริยากับยาที่รับในการรักษาโรคประจำตัวของท่านอีกด้วย

5. ก่อนปรับยาควรปรึกษาแพทย์

ก่อนท่านจะหยุดยาหรือเลิกใช้ยาใดที่ได้รับมา ควรปรึกษาแพทย์ถึงสาเหตุที่จะหยุดยานั้น เช่น เกิดผลข้างเคียงการรักษาไม่ได้ผล หรือ เกิดมีการรับประทานยาที่ซ้ำซ้อนมากจนเกินไป ไม่ควรที่จะหยุดยาเองเนื่องจากอาจส่งผลกระทบกับโรคประจำตัวได้

6. ติดตามต่อเนื่อง

หากเป็นไปได้ควรจะตรวจรักษาและติดตามกับแพทย์และโรงพยาบาลเดิม เนื่องจากจะมีประวัติอาการ และการใช้ยาโดยตลอด หากจำเป็นที่จะต้องรักษาหรือเปลี่ยนโรงพยาบาล ควรจะนำเอาประวัติเก่าในการรักษา รวมถึงยา ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการและประวัติการปรับยาในช่วงที่ผ่านมาไปให้แพทย์ท่านใหม่ดูทุกครั้งเพื่อประกอบการตัดสินใจ วิธีรักษาอย่างเหมาะสม

7. ผู้ดูแล

หากผู้สูงวัยมีปัญหาเรื่องความจำญาติของผู้ป่วยควรจะขอคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อที่จะวางแผนในการรักษาและร่วมดูแล โดยควรจัดหาผู้ดูแลหรือญาติที่ใกล้ชิดเป็นผู้จัดหายาให้กับผู้ป่วย รวมถึงอาหารการกินที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับ เนื่องจากโดยมากการรับประทานยามีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารอยู่ด้วยทุกครั้งการดูแลทั้งสองส่วนคืออาหารและยาจึงมีความจำเป็น

ด้วยรัก

นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ

Www.cherseryhome.com

ขอบคุณภาพสวยสวยจาก Cr:www.houstonhomecompanions.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น