โพสต์แนะนำ

" 7 เทคนิคดีๆการป้องกันความจำเสื่อม "

" 7 เทคนิคดีๆการป้องกันความจำเ สื่อม " ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที ่มากเพียงพอที่จะบอกได้อย่า งชัดเจนว่าวิธีใดป้องกันภาว ะความจำเ...

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

"สรุป 6 เทคนิคง่ายๆเพื่อการใช้ยาอย่างไม่ผิดพลาด"💊

"สรุป 6 เทคนิคง่ายๆเพื่อการใช้ยาอย่างไม่ผิดพลาด"💊
ผู้สูงวัยหลายๆท่านมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยา บางท่านมีโรคประจำตัวหลายอย่าง จึงมียาหลายขนานที่ต้องใช้

วันนี้หมอจึงขอสรุป 6 เทคนิคง่ายๆ เพื่อการใช้ยาไม่ผิดพลาด ซึ่งได้แปลและดัดแปลงมาจากคำแนะนำขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (US FDA) 6 ข้อมีดังนี้ครับ
1. รู้จักตัวยา
จำเป็นนะครับผู้สูงวัยที่ใช้ยาควรจะทราบว่าตนเองใช้ยา"ชื่อ"อะไร ขนาดยาเท่าไร รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร
2. รู้จักวิธีบริหารยา
วิธีการบริหารยา (กิน หรือ วิธีใช้อย่างไร) การจัดเก็บยา รวมถึงรู้ถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ หากท่านยังไม่รู้จักยาที่ใช้ดีพอ ไม่ต้องอายนะครับที่จะถามแพทย์หรือเภสัชกรที่จ่ายยาให้ท่านนะครับ จะได้เข้าใจตรงกัน
3. รู้ว่ายานั้นรักษาอาการอะไร
ในผู้สูงอายุบางท่านมีโรคหลายโรค จึงต้องรับประทานยาครั้งละหลายๆชนิด ซึ่งยาแต่ละชนิดจะใช้เพื่อรักษาอาการต่างๆกัน ท่านควรจะทราบว่ายาแต่ละตัวนั้นมีผลต่อร่างกายของท่านอย่างไร
4. อ่านสลากก่อนใช้ยา
เพื่อความถูกต้อง ทบทวนชื่อยาและวิธีการใช้ยา ดังนั้นก่อนการใช้ยาทุกครั้งต้องอ่านสลากยาเสมอ สังเกตลักษณะซอง ฉลากยา รวมถึงบรรจุภัณฑ์ควรอยู่ในสภาพที่ดี
5. แจ้งแพทย์ทุกครั้ง
เมื่อผู้สูงวัยต้องไปพบแพทย์หรือเภสัชกรควรแจ้งให้ทราบทุกครั้งถึงยาประจำที่ท่านรับประทานอยู่ แจ้งให้หมดนะครับทุกๆตัวยา รวมถึงวิตามินหรือยาบำรุงที่ท่านรับประทานอยู่ด้วย เพื่อป้องกันปัญหาการจ่ายยาที่ซ้ำซ้อน และตรวจสอบถึงปฏิกริยาของยาที่อาจเกิดได้หากรับประทานร่วมกัน
6. จดรายชื่อยาที่ใช้ประจำ
จดรายชื่อไว้ในกระเป๋าเงิน, ในโทรศัพท์มือถือ ถ่ายรูปไว้ หรือที่ใดก็ได้ที่สามารถพกติดตัวได้ตลอดเวลา และ Copy เผื่อคนในครอบครัวและเพื่อนสนิทด้วย เผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินจะได้นำรายชื่อนี้ให้กับแพทย์ที่รักษาทันได้ดูทันทีครับ
หมอว่าเทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคที่ดีนะครับ เพื่อให้ผู้สูงวัยทุกท่านได้รับประโยชน์จากยาที่รับประทานมากที่สุด และได้รับโทษจากยาน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ครับ
ด้วยรัก
นายแพทย์เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

" 9 กฎทองคำ นำชีวิต 95 ปีของอาม่าของหมอเอง "

" 9 กฎทองคำ นำชีวิต 95 ปีของอาม่าของหมอเอง "

วันนี้ได้มากราบอาม่าที่เคารพรักของผม ท่านอายุ 95 ปีที่มีนบุรี ... คุยกันนานและท่านเล่าเคล็ดไม่ลับความสุข อายุยืนเลย... อยากมาแบ่งปันทุกท่านนะครับ


1. กินแค่พอไม่หิว อย่ากินจนอิ่ม

2. สวดมนต์ไหว้พระวันละ 1 ชั่วโมงอย่างต่ำ

3. กินเจสัปดาห์ละสองวัน

4. นอนแต่หัวค่ำ

5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่าให้อ้วน

6. ปล่อยวางลูกหลาน ทำใจสบายๆ

7. อุจจาระทุกวัน

8. ใช้ชีวิตเรียบง่าย ช้าๆ กินข้าวให้รู้รส หายใจให้เต็มท้อง หัวเราะก็ให้รู้ว่ามีความสุ

9. เตรียมตัววันนั้น... อยู่เสมอ ไม่ประมาทด้วยใจที่สดใส สดชื่น

ด้วยรัก

นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )

Www.cherseryhome.com

...5 เทคนิค " ลืมแก่ " ... ในสมัยนี้ ...

...5 เทคนิค " ลืมแก่ " ... ในสมัยนี้ ...


1. เลือกเสพสื่อเจ๋งๆสมัยใหม่

ตามสื่อแนวสมัยใหม่บ้าง ... ฟังเพลงตามกระแสใหม่ๆบ้าง ดูหนัง ตามข่าวสาร วงการที่ท่านสนใจ หรือเกี่ยวกับงานที่ทำ update ให้ทันสมัย

2. คุยกับคนรุ่นใหม่

คุยแลกเปลี่ยนกับเด็กๆสมัยนี้ ว่า เขาคิดกันอย่างไรในสถานการณ์ต่างๆ อย่างน้อยเราก็มีเห็นความคิดที่แตกต่าง อาจนำมาต่อยอด ต่อเติมความคิดเรา และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันซึ่งลองทำ เปิดใจ รับรองว่า work สุดๆ

3. เลือกใช้ชีวิตในโลก social

บางทีการติดตามในโลกสังคมออนไลน์ต่างๆ ทำให้ท่านได้เห็นมุมมองใหม่ๆ อาจเกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมถึงเจอสังคมเพื่อนๆแห่งใหม่ นำไปสู่การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ได้ idea ดีๆเจ๋งๆซึ่งเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านเอง

4. ยิ้มกับปัจจุบัน

เป็นสุข...อยู่กับปัจจุบัน เลิกฟุ้งซ่านไปในอนาคต หรืออาลัยอาวรณ์กับอดีตที่ผ่าน ... " ตั้งหลักและปัดฝุ่นตัวเอง " ให้ดูดี น่ามอง น่าคบหา พูดและคิดแต่สิ่งดีๆ เสมือนกับการดีจากภายในให้เป็นประกายออกมาเป็นออร่าสู่ภายนอก... อันนี้จะกลายเป็นคนที่ลืมแก่ได้จากตัวตนภายในจริงๆ

5. เลือกรับประทานอาหาร

เลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ เน้นผักและผลไม้ เน้นครบห้าหมู่ ลดอาหารที่เป็นพวกแป้งน้ำตาล ของหวาน รวมไปถึงการเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยและควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ...ให้ดูสวยหล่อสมส่วน... นับว่าข้อนี้จะเป็นยาอายุวัฒนะให้ท่านจริงๆ

นพ. เก่งพงศ์ ( หมอเก่ง )

Www.cherseryhome.com

ขอบคุณภาพสวยๆจาก Cr: www.wisegeek.com

" 3 เหตุผลที่ผู้สูงวัยจำเป็นจะต้อง มีความคิดสร้างสรรค์ตลอดเวลา "

" 3 เหตุผลที่ผู้สูงวัยจำเป็นจะต้อง มีความคิดสร้างสรรค์ตลอดเวลา "


1. ลับสมองให้ปิ๊งๆ

กระตุ้นสมองให้แล่นอยู่ตลอด ลับให้คม การฝึกคิด เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา นอกจากจะเป็นการเพิ่มช่องทาง เปิดรับความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังเป็นการคงระดับและอาจเพิ่มพูนประสิทธิภาพของสมองของผู้สูงวัยอีกทางหนึ่งด้วย

2. ป้องกันจิตใจไม่ให้เฉา

เป็นที่ทราบกันดีว่าความคิดสร้างสรรค์จะทำให้เกิดแรงผลักดันทั้งด้านบวกขึ้นในจิตใจ เป็นแรงขับดันภายในตัวตนที่มีอยู่แล้วได้ทุกคน ... แต่การได้ " ย้ำกับตัวเอง " ฝึกการมีความคิดสร้างสรรค์ในทุกๆอย่างในชีวิตประจำวัน จะสร้างแรงบันดาลใจและกำลังใจได้ดีอย่างมาก
ความคิดสร้างสรรค์นั้นอาจสอดแทรกเข้าไปในกิจกรรม ที่ทำอยู่เป็นประจำเช่นอาจจัดวางตกแต่งบ้านมุมเล็กๆน่ารักๆตอนทำงานบ้าน ประดิษฐ์หรือทำของกระจุกกระจิกเพื่อใช้เองภายในบ้าน หรือแม้แต่การคิดค้นเมนูอาหารจานเด็ดใหม่ๆทำอาหารให้คนในบ้านได้ลองทานกันดูในแบบที่ไม่เคยทำ ... ก็เป็นตัวอย่างที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกมาให้ปรากฏได้ ... แล้วยิ่งได้เสียงตอบรับที่ดีจากคนรอบข้างแล้ว ท่านลองสังเกตดูว่า จิตใจของท่านจะเบิกบานเป็นสุขมากเลยทีเดียว

3. ไอเดียที่เกิดนั้นอาจเปลี่ยนโลก

หมอเชื่อว่าผู้สูงวัยแต่ละท่านมีประสบการณ์ชีวิตที่สะสมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผสานกับประสบการณ์ความช้ำชองเชี่ยวชาญในงานที่ผ่านมา หากได้ผสมกับความคิดสร้างสรรค์ที่ท่านพยายามใส่เข้าไปแล้ว หมอก็เชื่อว่าสิ่งที่ท่านคิดและทำ อาจจะเป็นไอเดียดีๆเจ๋งๆ ประดิษฐ์คิดค้น สร้างขึ้นมาใหม่ที่อาจมีค่า มีประโยชน์ หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนโลกได้นะครับ

ลองดูนะครับ ... ได้อย่างไรลองคุยกันได้นะครับ

ด้วยรัก

นพ.เก่งพงศ์ ( หมอเก่ง )

Www.cherseryhome.com

ขอบคุณภาพสวยๆ Cr:www.seniorlivingresidences.com

" 5 เทคนิคเจ๋งๆในการสื่อสาร กับผู้สูงวัยที่มีปัญหาหลอดเลือดสมอง "

" 5 เทคนิคเจ๋งๆในการสื่อสาร กับผู้สูงวัยที่มีปัญหาหลอดเลือดสมอง "


1. สบสายตา

การพูดแบบสบตาผู้ฟังพูด ให้ช้าๆ และอาจเพิ่มการเน้นคำ สรุปหรือการทวนประเด็นที่สำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ฟังเกิดความเข้าใจมากที่สุด

2. เงียบเพื่อฟัง

ปิดทีวีหรือวิทยุ รวมไปถึงลดเสียงรบกวนอื่นๆ ที่จะทำให้ไม่มีสมาธิในการฟังของทั้งสองฝ่าย

3. สังเกตท่าทาง

ผู้ฟังควรฟังผู้สูงวัยอย่างตั้งใจ รวมไปถึงการสังเกตท่าทางทางกายที่ผู้สื่อสารพยามจะอธิบายด้วย จะทำให้เข้าใจกันได้มากขึ้นนะครับ

4. ให้เวลา

พยายามไม่เสแสร้งหรือพยายามแสดงว่าคุณเข้าใจแล้วแต่ยังไม่เข้าใจ ... รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการที่จะรวบรัดตัดความขณะที่ผู้ป่วยกำลังสื่อสาร เพราะจะทำให้ผู้สูงวัยเกิดความไม่มั่นใจและไม่อยากที่จะพูดหรือสื่อสารอีก

5. เลือกคำเข้าใจง่าย

เน้นการสื่อสารที่เรียบง่ายและเป็นส่วนตัว ใช้คำง่ายๆสั้นๆ ได้ใจความ อาจใช้ภาพหรือสีมาประกอบบางอย่างที่ต้องการสื่อสารได้จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้น... รวมไปถึงจะทำให้โดยความร่วมมือที่ดีขึ้นและความเข้าใจกันที่มากขึ้น

... และทั้งหมดนี้ผู้ดูแลควรตั้งอยู่ในอารมณ์ที่ดี ใจเย็น และนึกถึง ประโยชน์ที่จะเกิดจากการกระตุ้นให้ผู้สูงวัยที่มีปัญหาด้านการสื่อสารโดยแสดงออกบอกความต้องการผ่านการพูดและการฟังซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตของผู้สูงวัยของท่านต่อไป ...

ด้วยรัก

นพ. เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )

Www.cherseryhome.com

ขอบคุณถาพสวยๆจาก Cr: www.hahcare.com

" สังเกต 7 ลักษณะที่มีโอกาสเป็นผู้สูงวัยที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร "

" สังเกต 7 ลักษณะที่มีโอกาสเป็นผู้สูงวัยที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร "

ลองสังเกตคนใกล้ชิดของท่าน ... บุคคลใดบ้างที่มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้สูงวัยขาดสารอาหาร ... ลองมาดูกันนะครับ


1. ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย

ผู้สูงวัยที่ไม่สามารถจัดการหรือมีกิจวัตรประจำวันได้เองหรือโดยมากคือนอนติดเตียงไม่ค่อยออกด้วยลุกไปไหน

2. อยู่โดดเดี่ยว

ผู้สูงวัยที่อยู่คนเดียว โดยที่มีโรคประจำตัวมาก ได้รับการผ่าตัดโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร แต่ไม่มีผู้ดูแลเรื่องอาหารการกินรวมถึงน้ำดื่มที่สะอาดเพียงพอ

3. ปัญหาเคี้ยว กลืน ช่องปาก

ผู้สูงวัยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเคี้ยว การกลืน และปัญหาในช่องปากเช่นปัญหาฟันบดเคี้ยวน้อย โรคเหงือกอักเสบรวมถึงฟันผุเป็นต้น

4. ยา

ผู้สูงวัยที่มีการใช้ยามีผลกระทบต่อความอยากอาหาร เกิดความง่วงซึม คลื่นไส้อาเจียน เกิดภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย หรือเกิดเท้องผูกบ่อยๆ

5. รับรู้แย่ลง

ผู้สูงวัยที่มีปัญหาเกี่ยวกับประสาทสัมผัสทั้งห้า อาทิ การมองเห็น การได้ยิน รับสัมผัส การดมกลิ่น รวมถึงรสชาติอาหาร

6. ปัญหาด้านอารมณ์

ผู้สูงวัยที่มีปัญหาอารมณ์ซึมเศร้ามีอาการทางจิตและอารมณ์อย่างอื่นที่ทำให้เกิดความเครียดและไม่อยากอาหาร เช่น เหงา หงุดหงิดง่าย อยู่ในภาวะแยกจากสังคมรอบข้างและครอบครัว

7. สื่อสารได้ลำบาก

ผู้สูงวัยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการการสื่อสารความต้องการของตนเองเช่นภาวะโรคสมองเสื่อมภาวะอัมพฤกษ์อัมพาตจากสมองรวมถึงการสูญเสียการได้ยินจากสาเหตุต่างๆ

... ลองสังเกตคนใกล้ชิดของท่าน หากมีความเสี่ยงดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อการรับคำแนะนำอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไปนะครับ ...

ด้วยรัก

นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )

Www.cherseryhome.com

" รวม 5 เทคนิคการป้องกันการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ "

" รวม 5 เทคนิคการป้องกันการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ "


1. ใส่ใจเรื่องยา

รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอและตรวจติดตามกับแพทย์เป็นระยะๆทุกครั้ง และเมื่อได้ยากลับมาบ้านให้ตรวจดูชื่อยา จำนวนเม็ดยาว่าเพียงพอหรือไม่ รวมถึงวันหมดอายุและสภาพซองบรรจุยาว่าอยู่ในเกณฑ์ดีไม่ มีลักษณะบุบสลาย แตกหักเสียหายหรือเปล่า 

2. เตรียมพร้อมข้อมูล

หากเป็นไปได้ควรจดชื่อยาและลักษณะการใช้ไว้ รวมถึงชื่อโรคที่เป็นโรคประจำตัวของท่านและยาที่เคยแพ้ใส่กระดาษติดตัวเพื่อเป็นข้อมูลของตนเอง และหากจะพบแพทย์ในครั้งต่อไปให้เตรียมข้อมูลว่าท่านมีปัญหาในการใช้ยาที่ผ่านมาหรือไม่ พร้อมนำยาที่รับประทานทั้งหมดไปให้แพทย์ตรวจเช็คเป็นระยะๆนะครับ

3. เริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนก่อ

พยามเริ่มต้นการรักษาอาการต่างๆในรูปแบบที่ไม่ใช้ยาก่อน เช่นอาการนอนไม่หลับ ควรเน้นเพิ่มออกกำลังกายทำกิจวัตรประจำวันในช่วงเวลากลางวันที่มากขึ้นจะทำให้ท่านรู้สึกใช้แรงและเหนื่อยมากพอ ที่อาจจะช่วยให้นอนหลับได้ สนิทมากขึ้น หรือหากมีอาการท้องผูก อาจจะเริ่มต้นด้วยการรับประทานอาหารผักผลไม้ที่มีกากใยมาก รวมถึงการดื่มน้ำให้เพียงพอหกถึงแปดแก้วต่อวันก็อาจจะช่วยเรื่องอาการท้องผูกได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งยามากนัก

4. ไม่ควรซื้อยาเอง

หลีกเลี่ยงการซื้อยามารับประทานเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาสมุนไพรยาต้ม ยาลูกกลอน เนื่องจากยาเหล่านี้จะสร้างผลเสียแก่ร่างกายและอาจเกิดปฏิกิริยากับยาที่รับในการรักษาโรคประจำตัวของท่านอีกด้วย

5. ก่อนปรับยาควรปรึกษาแพทย์

ก่อนท่านจะหยุดยาหรือเลิกใช้ยาใดที่ได้รับมา ควรปรึกษาแพทย์ถึงสาเหตุที่จะหยุดยานั้น เช่น เกิดผลข้างเคียงการรักษาไม่ได้ผล หรือ เกิดมีการรับประทานยาที่ซ้ำซ้อนมากจนเกินไป ไม่ควรที่จะหยุดยาเองเนื่องจากอาจส่งผลกระทบกับโรคประจำตัวได้

6. ติดตามต่อเนื่อง

หากเป็นไปได้ควรจะตรวจรักษาและติดตามกับแพทย์และโรงพยาบาลเดิม เนื่องจากจะมีประวัติอาการ และการใช้ยาโดยตลอด หากจำเป็นที่จะต้องรักษาหรือเปลี่ยนโรงพยาบาล ควรจะนำเอาประวัติเก่าในการรักษา รวมถึงยา ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการและประวัติการปรับยาในช่วงที่ผ่านมาไปให้แพทย์ท่านใหม่ดูทุกครั้งเพื่อประกอบการตัดสินใจ วิธีรักษาอย่างเหมาะสม

7. ผู้ดูแล

หากผู้สูงวัยมีปัญหาเรื่องความจำญาติของผู้ป่วยควรจะขอคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อที่จะวางแผนในการรักษาและร่วมดูแล โดยควรจัดหาผู้ดูแลหรือญาติที่ใกล้ชิดเป็นผู้จัดหายาให้กับผู้ป่วย รวมถึงอาหารการกินที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับ เนื่องจากโดยมากการรับประทานยามีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารอยู่ด้วยทุกครั้งการดูแลทั้งสองส่วนคืออาหารและยาจึงมีความจำเป็น

ด้วยรัก

นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ

Www.cherseryhome.com

ขอบคุณภาพสวยสวยจาก Cr:www.houstonhomecompanions.com

" 7 เทคนิคดีๆการป้องกันความจำเสื่อม "


" 7 เทคนิคดีๆการป้องกันความจำเสื่อม "

ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่มากเพียงพอที่จะบอกได้อย่างชัดเจนว่าวิธีใดป้องกันภาวะความจำเสื่อมได้โดยตรง แต่อย่างไรก็ตามเทคนิค 7 ประการที่หมอจะให้ต่อไปนี้เป็นข้อปฏิบัติตัว ที่อาจจะช่วยให้สมองยังคงความจำและศักยภาพในการทำงานที่ดีต่อไปได้นะครับ


1. หลีกเลี่ยงอาหารหรือสารเคมีที่จะทำให้เกิดภยันตรายต่อสมองเช่นการดื่มแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานยาที่ไม่จำเป็น

2. ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมองและศีรษะ เช่น การหกล้มในผู้สูงอายุเป็นต้

3. ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี ถ้าผู้สูงวัยมีโรคประจำตัวอยู่เดิม เช่น ความดัน เบาหวาน ไขมัน ในเลือดสูง ควรติดตามการรักษา รับประทานยาสม่ำเสมอ ควบคุมค่าต่างๆให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

4. สังสรรค์ พบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ มีสังคมเข้าชมรมเพื่อทำกิจกรรมต่างๆระหว่างวัน เป็นต้น

5. ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงวัยอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3-5 วัน ครั้งละประมาณ 30 ถึง 45 นาที ไม่ว่าจะเป็นเดินออกกำลังกายรำมวยจีน โยคะ เป็นต้น

6. การฝึกสมองให้ได้ใช้และคิดบ่อยๆเช่น การอ่านหนังสือ การคิดเลข การเล่นเกมฝึกปัญหาเชาว์ รวมถึงการฝึกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ๆ ก็เป็นสิ่งที่ช่วยได้

7. การสวดมนต์และมีสติในการทำสิ่งต่างๆ ทำอย่างตั้งใจ รู้ตน รู้เวลา รู้กิจกรรมทำอยู่ตลอดเวลา ฝึกนั่งสมาธิ อยู่สม่ำเสมอก็จะเป็นวิธีที่ช่วยได้อย่างมากครับ

ด้วยรัก

นพ. เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )

Www.cherseryhome.com

ขอบคุณภาพสวยๆจาก Cr: www.fourthought.com

" 1 หลักคิด ชีวิตไกล เรื่องบั่นทอนจิตใจสำหรับผู้สูงวัย "

" 1 หลักคิด ชีวิตไกล เรื่องบั่นทอนจิตใจสำหรับผู้สูงวัย "
หลักนั้นคือ...
ท่านต้อง ... ปิด !!! โอกาส ... ที่จะรับสิ่งที่ไม่ดีที่อาจจะเข้ามาในชีวิตของท่านในทุกๆทางจากนี้และตลอดไป


... หมอย้ำนะครับ ว่า ปิดโอกาส !!! เลย...

ไม่ว่าจะเป็นการดู รับฟัง หรือนึกคิดสิ่งที่ไม่ดีๆ ต่างๆ ทั้งข่าวไม่สร้างสรรค์ เหตุการณ์ลบๆ เรื่องร้าย เรื่องเศร้า

... บอกว่าเองว่า ไม่เอาแล้ว ... Say No !!! กับสิ่งเหล่านี้ ...

สิ่งนี้จะเป็นปราการด่านแรกที่จะป้องกันทำให้ท่านหลุดพ้นสิ่งที่ไม่ดีที่จะเข้ามาในสมองของท่านเอง

หมอขอแนะนำโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเช้าเป็นเวลาที่ท่านควรจะอยู่กับตัวเองให้เวลากับจิตใจร่างกายและสมองที่จะรับแต่สิ่งดีๆสิ่งที่สะอาดและมีคุณค่า

แทนที่ด้วยการพูดกับตัวเองทุกเช้าในด้านดีและบวก หรือ การนั่งสมาธิสั้นๆซัก 2ถึง 3 นาที มาทดแทนการดูหรือรับฟัง สิ่งที่ไม่ดีนั้นย่อมจะเป็นการกระทำที่สร้างสรรค์กว่า ... สิ่งนี้เป็นเทคนิคหนึ่งเรียกว่าเทคนิคการแทนที่... เริ่มต้นวันด้วยสิ่งดีๆ ชีวิตทั้งวันจะไม่ดีได้อย่างไรครับ ... ลองไปใช้กันดูนะครับ

ด้วยรัก

นพ. เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )

Www.cherseryhome.com

Good night ครับ

ขอขอบคุณภาพสวยๆจาก Cr:www.americandentalsolution.com

" เปลี่ยนคำ เปลี่ยนผลลัพธ์ "

" เปลี่ยนคำ เปลี่ยนผลลัพธ์ "

เทคนิคเจ๋งๆให้ผู้สูงวัยใช้เปลี่ยนผลที่จะได้รับ 

... แค่ปรับคำ... ก็เปลี่ยนคุณ ...
... เริ่มที่ภายในของท่านเอง ...



ลองดูกันนะครับ

==============

เปลียนคำว่า ยาก ... เป็นท้าทาย

==============

เปลี่ยนคำว่า น่าเบื่อ ... เป็นน่าลอง

==============

เปลี่ยนคำว่า ไม่มีทางสำเร็จ ... เป็นทุกสิ่งเป็นไปได้

==============

เปลี่ยนคำว่า ไม่มีเวลา ... เป็นลองหาเวลา

==============

เปลี่ยนคำว่า อยาก ( ไม่สิ่งไม่ดี ) ... เปลี่ยนเป็น ลด ละ เลิก

==============

เปลี่ยคำว่า อุปสรรค ... เป็นบทเรียนที่มีค่า

=============

... ทำให้ทุกนาทีของท่าน ผ่านไปโดยท่านรู้สึกว่าสำเร็จอยู่ตลอดเวลา มองเป้าหมายให้ใหญ่ แต่ซอยเป็นเป้าเล็กๆเหมือนคอยเก็บแต้มไป ... ตลอดการเดินทางที่แสนมีค่า มีความสุข ... ทุกสิ่งที่จะขัดขวางความสำเร็จในทุกทาง จงค่อยๆสลัดมัน ให้เหลือแต่แรงผลักด้านบวกที่ให้กับตัวเอง

... อะไรที่ไม่ใช่ ทิ้งมันไป
ส่วนอะไรที่ใช่ ( ให้เข้าใกล้ความสำเร็จ ) ให้เก็บไว้ ... สะสม และให้แรงใจกับตัวเองในทุกๆวันนะครับ

สุดท้ายท่านผู้สูงวัย ก็จะได้อย่างที่ท่านหวังทุกอย่าง ทั้งสุขภาพที่ดี ... จิตใจที่เข้มแข็ง และความสัมพันธ์ครอบครัวที่อบอุ่นอย่างแน่นอนครับ

ด้วยรัก

นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )

Www.cherseryhome.com
Chersery home
โรงพยาบาลผู้สูงอายุและกายภาพบำบัด

บอก"รัก"ผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแล
All the best for your elder

#ดูแลผู้สูงอายุ
#Nursinghome
#ดูแลคนชรา
#ดูแลคนแก่
#อายุรกรรม
#อายุรแพทย์
#กายภาพบำบัด
#เวชศาสตร์ฟื้นฟู
#สถานพยาบาล
#พยาบาลผู้สูงอายุ
#โรงพยาบาล
#โรงพยาบาลผู้สูงอายุ

Tel: 094-426-4439
087-075-0527

Line id: cherseryhome
Facebook: cherseryhome
www.cherseryhome.com
Cherseryhome@gmail.com

ขอขอบคุณภาพสวยๆ Cr: www.undp.org.fj

" รู้เท่า ... รู้ทัน ... ดูแลความดันโลหิตสูงในผู้สูงวัย "

" รู้เท่า ... รู้ทัน ... ดูแลความดันโลหิตสูงในผู้สูงวัย "

ความดันโลหิตสูงถือได้ว่าเป็น " ภัยเงียบ " แก่ผู้สูงวัยอย่างมากเพราะเนื่องจากมันจะสร้างความเสียหายกับหลอดเลือดในอวัยวะภายในได้หลายประการ เช่น เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง หลอดเลือดโป่งพอง หรือในอวัยวะต่างๆที่สำคัญ อันนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย หากไม่เคยตรวจ คัดกรองอาการมาก่อน รวมถึงการคุมความดันโลหิตสูงที่ไม่ดี จนท้ายที่สุดอาจจะนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ไตวายเรื้อรัง ภาวะสมองขาดเลือดหรือเส้นเลือดในสมองแตก รวมถึงหัวใจวายและเสียชีวิตได้ 


โดยส่วนมาก ความดันโลหิตสูงนั้นไม่มีอาการ ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่มักจะสัมพันธ์กับประวัติคนในครอบครัว พฤติกรรมการบริโภค ภาวะอ้วน สูบบุหรี่และอายุที่มากขึ้น อีกส่วนหนึ่งมักจะมีสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคไต โรคต่อมไร้ท่อบางอย่าง เช่น ไทรอยด์ ต่อมหมวกไต รวมถึงการใช้ยาบางอย่างที่ส่งผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เช่น สเตียรอยด์

ความดันโลหิตสูงนั้นน่ากลัวเพราะเป็นโรคที่ไม่มีอาการเตือนใดๆ จนกระทั่งผู้ป่วยมาพบแพทย์ หรือมีความเจ็บป่วยทางด้านอื่นแล้วจึงตรวจพบ บางรายที่มาช้าตอนที่อายุมากแล้ว จนตรวจอาการทางระบบอื่นๆที่สำคัญ พบว่ามีภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง อวัยวะต่างๆถูกผลกระทบไปอย่างมาก เช่น สมอง หัวใจ ไต จอประสาทตา เป็นต้น

ดังนั้นการตรวจเช็คสุขภาพเป็นระยะๆ การมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเมื่อมีอายุที่มากขึ้น จึงเป็นสิ่งจำเป็น รวมถึงการดูแลสุขภาพการเลือกรับประทานอาหาร เน้นผักและผลไม้ที่มีกากใย หลีกเลี่ยงอาหารหวานเค็มรวมทุกรสจัด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามถึงสี่วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากนะครับ

ผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยและการควบคุมปรับเปลี่ยนทางด้านพฤติกรรมแล้วยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ให้อยู่ในตามเกณฑ์ แพทย์จะพิจารณาให้รับประทานยาควบคุมความดันโลหิต ซึ่งการใช้ยามีหลายกลุ่มและหลายขนาด แพทย์จะเลือกใช้ขึ้นอยู่กับโรคร่วมที่ผู้ป่วยเป็น ไม่ว่าจะเป็น โรคไต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งการใช้ยาเองก็จะมีทั้งชนิดที่ เป็นยาเดียวหรือยาแบบผสมผสานมากกว่าหนึ่งตัวขึ้นไป

การตรวจเช็คความดันโลหิตเป็นๆ รวมถึงการควบคุมโรคร่วมที่ได้กล่าวไปแล้วให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ได้รับการประเมินผลทางห้องปฏิบัติการอย่างใกล้ชิดเพื่อปรับการใช้ยาและหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจจะได้ รับย่อมจะทำให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้สูงวัย และที่สำคัญการตรวจค่าความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านโดยอุปกรณ์วัดความดันที่หาซื้อได้นั้นเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะทำให้การติดตาม แต่ละครั้งที่ได้พบแพทย์ ได้ข้อมูลอย่างรอบด้าน ซึ่งการวัดความดันที่บ้านเป็นระยะๆเป็นสิ่งที่จะทำให้แพทย์ผู้รักษาประเมินการรักษาและการใช้ยาก็อย่างดีเลยนะครับ

หากท่านผู้สูงวัยใช้ยาแล้วเกิดปัญหาผลข้างเคียงใดๆควรแจ้งให้แพทย์ผู้ดูแลประจำของท่านทราบ ไม่ว่าจะเป็นอาการเท้าบวม อาการไอ อาการปัสสวาะบ่อยมากจนเกิน ไปรวมถึงเวียนศีรษะ ลุกนั่งแล้ววิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้นเพื่อการปรับยาให้เหมาะสมกับตัวท่านเองนะครับ

ด้วยรัก

นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )

Www.cherseryhome.com

ขอบคุณภาพสวยๆจาก Cr:www.vitamindcouncil.com

" สู้เบาหวาน ... รู้หลบเป็นปีก ... รู้หลีกไกลห่าง ... และวิธีรับมืออย่างมีสุข "


" สู้เบาหวาน ... รู้หลบเป็นปีก ... รู้หลีกไกลห่าง ... และวิธีรับมืออย่างมีสุข "
...
...
...

โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง เนื่องจากไม่สามารถนำแป้งและน้ำตาลที่บริโภคเข้าไปนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประการแรกเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ได้มากเพียงพอ ซึ่งอินซูลินนั้นเป็นฮอร์โมนที่จะช่วยส่งผ่านน้ำตาลไปใช้ของผลาญในร่างกายให้เป็นพลังงานต่อไป 

อีกประการหนึ่งคืออวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายมีภาวะที่ดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งทั้งหมดแล้วก็จะนำไปสู่การทำงานของฮอร์โมนอินซูลินที่ลดลงโดยความผิดปกติดังกล่าวส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนในอวัยวะที่สำคัญต่างๆทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด ปลายประสาท ไต รวมถึงจอประสาทตาจีจะเสื่อมลง

การตรวจสอบว่าเป็นเบาหวานสามารถทำได้โดยการเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาล ผู้สูงวัยที่มีอาการที่ชวนสงสัยเช่น ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย เนื่องจากสูญเสียน้ำมากทางปัสสาวะ มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงมาก เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ เกิดอาการคันตามตัว ติดเชื้อง่ายมีภาวะตกขาวบ่อยในเพศหญิง อาการตามัว มองภาพไม่ชัด หรือกินเก่งมากขึ้นรวมถึงเกิดอาการเท้าและปลายนิ้วมือชา เนื่องจากเส้นปลายประสาทเสื่อม รวมถึงมีประวัติคนในครอบครัวที่ใกล้ชิดทเป็นโรคเบาหวาน

ผู้สูงวัยมีอาการดังกล่าวควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายและเจาะเลือเพิ่มเติม เพื่อการวินิจฉัย ที่ถูกต้อง หากผลตรวจเลือดหลังจากที่ได้งดน้ำงดอาหารแล้วพบว่ามากกว่าเกณฑ์ แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน นอกจากนั้นก็จะตรวจเช็คภาวะโรคร่วมอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นภาวะอ้วน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และอื่นๆไปด้วย ซึ่งจะมีผลในการเลือกใช้ยาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ยาที่เลือกใช้จะมีทั้งยาชนิดเม็ดและในรูปแบบยาฉีด อาจเป็นยาชนิดเดียวหรือแบบผสมผสานมากกว่าหนึ่งชนิดขึ้นไป การเลือกใช้ยาแบบใดคงจะดูปัจจัยและโรคร่วมที่ผู้สูงวัยมีอยู่ด้วย และทุกครั้งที่แพทย์ได้นัดมาตรวจที่โรงพยาบาล ผู้สูงวัยควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับอาการข้างเคียงหรืออุปสรรคในการรับประทานหรือใช้ยาทุกครั้ง เพื่อที่จะได้ปรับให้เหมาะกับทุกท่านซึ่งจะแตกต่างกันในละเอียดของแต่ละคน

แต่อย่างไรก็ตามการ มีวินัยในการรับประทานยา การปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรมการกิน พฤติกรรมบริโภค เช่น ต้อง !!! งดสูบบุหรี่ ต้อง !!! งดดื่มสุรา และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ คงจะเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำไปควบคู่กันให้เป็นนิสัย เพื่อผลการรักษาที่ดี

ผู้สูงวัยบางท่านที่มีปัญหาในการควบคุมเบาหวาน รวมถึงปัญหาเรื่องการใช้ยาที่ค่อนข้างบ่อยอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจพิจารณาซื้อเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ร่วมกับสังเกตอาการติดตามเป็นระยะๆที่บ้าน จะทำให้ได้ข้อมูลมาคุยกับแพทย์ที่รักษาเพื่อการปรับยาอย่างเหมาะสมต่อไป

สรุป

การรักษาที่ครบถ้วนจำเป็นที่จะต้องดูแลทั้ง 3 เสาหลักได้แก่

1. การออกกำลังกายที่เหมาะแก่วัย
2. การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่รสจัด หลีกเลี่ยงอาหารเค็มหวานมัน ปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
3. สุดท้ายก็คือการตรวจติดตามรักษาและกินยาอย่างสม่ำเสมอ

... ในบางรายเท่าที่หมอเจอมายังหวังที่จะรับประทานยาเพียงอย่างเดียว ซึ่งในความเห็นของหมอคิดว่ายังไม่เพียงพอ ... หลักสำคัญคือขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้นะครับ

ผู้สูงวัยที่รักทุกท่านได้สังเกตุอาการและปฏิบัติตามดังนี้หมอรับรองเลยว่าทุกท่านจะมีความสุขในการอยู่ร่วมเบาหวานแน่นอนครับ

ด้วยรัก

นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง ) อายุรแพทย์
Chersery homeโรงพยาบาลผู้สูงอายุและกายภาพบำบัด

บอก"รัก"ผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแล
All the best for your elder

#ดูแลผู้สูงอายุ
#Nursinghome
#ดูแลคนชรา
#ดูแลคนแก่
#อายุรกรรม
#อายุรแพทย์
#กายภาพบำบัด
#เวชศาสตร์ฟื้นฟู
#สถานพยาบาล
#พยาบาลผู้สูงอายุ
#โรงพยาบาล
#โรงพยาบาลผู้สูงอายุ

Tel: 094-426-4439
087-075-0527

Line id: cherseryhome
Facebook: cherseryhome
www.cherseryhome.com
Cherseryhome@gmail.com
Www.cherseryhome.com

ขอบคุณภาพสวยๆจาก Cr:www.diabetesincontrol.com

" 3 ประโยค ... กล่าวคำขอบคุณตัวคุณเอง ด้วยเทคนิค Affirmation ... สร้างพลังบวกในจิตใต้สำนึกของคุณ "

" 3 ประโยค ... กล่าวคำขอบคุณตัวคุณเอง ด้วยเทคนิค Affirmation ... สร้างพลังบวกในจิตใต้สำนึกของคุณ "

กล่าวคำขอบคุณกับสิ่งต่างๆรอบตัว ทุกอย่าง ทุกเหตุการณ์ในช่วงชีวิตที่ผ่านมา ... " สิ่งที่เข้ามา ดีเสมอ " ... หมอขอยืนยันและอยากเน้นย้ำให้กำลังใจกับ ผู้สูงวัยทุกคนแม้สิ่งที่เข้ามาอาจจะไม่ทำให้ท่านพึงพอใจมากนัก แต่การหาความหมายที่ดีและการแปลความสถานการณ์ในแง่ดีจะทำให้มุมมองในการอยู่และจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้น


... เปิดใจ
... สงบใจนิ่ง
... ปิดสิ่งรบกวนทั้งหลาย
... นั่งอยู่ภายในห้องที่เงียบ

หายใจเข้าออกอย่างลึก ... สัก 20 ครั้ง

หมอมีตัวอย่างประโยคมาฝาก ลองดูกันนะครับ

1. ฉันขอขอบคุณวันนี้ที่ยังมีร่างกายที่สมบูรณ์ครบ 32 ประการ ยังมีลมหายใจเข้าออก ยังมีสติปัญญาที่จะคิดสร้างสรรค์เรื่องดีๆและเป็นบวก

ฉันเห็นคุณค่าของการมีสุขภาพกายที่ดี และฉันเห็นคุณค่าของการมีกำลังใจที่ดีด้วย

======================

2. ฉันขอขอบคุณครอบครัวที่ยังอยู่เคียงข้างฉัน ที่ประกอบไปด้วย ... ( พูดชื่อคนในครอบครัวของท่าน) ... พวกเขาเหล่านั้นน่ารัก ฉันรักพวกเขาและพวกเขาก็รักฉัน

ฉันเห็นคุณค่าของการมีครอบครัวที่อบอุ่นและฉันเห็นคุณค่าของความรักและกำลังใจจากครอบครัว

======================

3. ฉันขอขอบคุณความสะดวกสบายที่ฉันได้มีอยู่ในตอนนี้ที่เทียบแล้วยังมากกว่าคนอื่นอีกมากนัก ... ฉันขอขอบคุณทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่ มีจับจ่ายใช้สอย ที่เทียบแล้วมากกว่าคนอื่นมากนัก ... ฉันขอขอบคุณบ้านเรือนที่ให้ได้พักอาศัย ที่ดูสวยงาม สะอาดสะอ้าน ที่เทียบแล้วมากกว่าคนอื่นมากนัก ...

ฉันเห็นคุณค่าของสิ่งที่ดีๆเหล่านี้ ที่ฉันยังมีอยู่และมากพอที่จะแบ่งปัน

======================

หลับต่อสักครู่หายใจเข้าออกอย่างลึกประมาณสัก 20 ครั้ง ... หากเสร็จแล้วค่อยๆ ลืมตา ลองสังเกตดูว่าหลังจากนั้นท่านจะรู้สึกสบายและมีความสุขขึ้นมาอย่างน่าประหลาดใจครับ

ถ้าได้ผลอย่างไร ... ลองแชร์และคุยมาได้นะครับ

นพ. เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )

Www.cherseryhome.com

ขอขอบคุณภาพสวยๆ จาก Cr:www.medicinetechnews.com