โพสต์แนะนำ

" 7 เทคนิคดีๆการป้องกันความจำเสื่อม "

" 7 เทคนิคดีๆการป้องกันความจำเ สื่อม " ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที ่มากเพียงพอที่จะบอกได้อย่า งชัดเจนว่าวิธีใดป้องกันภาว ะความจำเ...

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

"สรุป 6 เทคนิคง่ายๆเพื่อการใช้ยาอย่างไม่ผิดพลาด"💊

"สรุป 6 เทคนิคง่ายๆเพื่อการใช้ยาอย่างไม่ผิดพลาด"💊
ผู้สูงวัยหลายๆท่านมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยา บางท่านมีโรคประจำตัวหลายอย่าง จึงมียาหลายขนานที่ต้องใช้

วันนี้หมอจึงขอสรุป 6 เทคนิคง่ายๆ เพื่อการใช้ยาไม่ผิดพลาด ซึ่งได้แปลและดัดแปลงมาจากคำแนะนำขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (US FDA) 6 ข้อมีดังนี้ครับ
1. รู้จักตัวยา
จำเป็นนะครับผู้สูงวัยที่ใช้ยาควรจะทราบว่าตนเองใช้ยา"ชื่อ"อะไร ขนาดยาเท่าไร รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร
2. รู้จักวิธีบริหารยา
วิธีการบริหารยา (กิน หรือ วิธีใช้อย่างไร) การจัดเก็บยา รวมถึงรู้ถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ หากท่านยังไม่รู้จักยาที่ใช้ดีพอ ไม่ต้องอายนะครับที่จะถามแพทย์หรือเภสัชกรที่จ่ายยาให้ท่านนะครับ จะได้เข้าใจตรงกัน
3. รู้ว่ายานั้นรักษาอาการอะไร
ในผู้สูงอายุบางท่านมีโรคหลายโรค จึงต้องรับประทานยาครั้งละหลายๆชนิด ซึ่งยาแต่ละชนิดจะใช้เพื่อรักษาอาการต่างๆกัน ท่านควรจะทราบว่ายาแต่ละตัวนั้นมีผลต่อร่างกายของท่านอย่างไร
4. อ่านสลากก่อนใช้ยา
เพื่อความถูกต้อง ทบทวนชื่อยาและวิธีการใช้ยา ดังนั้นก่อนการใช้ยาทุกครั้งต้องอ่านสลากยาเสมอ สังเกตลักษณะซอง ฉลากยา รวมถึงบรรจุภัณฑ์ควรอยู่ในสภาพที่ดี
5. แจ้งแพทย์ทุกครั้ง
เมื่อผู้สูงวัยต้องไปพบแพทย์หรือเภสัชกรควรแจ้งให้ทราบทุกครั้งถึงยาประจำที่ท่านรับประทานอยู่ แจ้งให้หมดนะครับทุกๆตัวยา รวมถึงวิตามินหรือยาบำรุงที่ท่านรับประทานอยู่ด้วย เพื่อป้องกันปัญหาการจ่ายยาที่ซ้ำซ้อน และตรวจสอบถึงปฏิกริยาของยาที่อาจเกิดได้หากรับประทานร่วมกัน
6. จดรายชื่อยาที่ใช้ประจำ
จดรายชื่อไว้ในกระเป๋าเงิน, ในโทรศัพท์มือถือ ถ่ายรูปไว้ หรือที่ใดก็ได้ที่สามารถพกติดตัวได้ตลอดเวลา และ Copy เผื่อคนในครอบครัวและเพื่อนสนิทด้วย เผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินจะได้นำรายชื่อนี้ให้กับแพทย์ที่รักษาทันได้ดูทันทีครับ
หมอว่าเทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคที่ดีนะครับ เพื่อให้ผู้สูงวัยทุกท่านได้รับประโยชน์จากยาที่รับประทานมากที่สุด และได้รับโทษจากยาน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ครับ
ด้วยรัก
นายแพทย์เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

" 9 กฎทองคำ นำชีวิต 95 ปีของอาม่าของหมอเอง "

" 9 กฎทองคำ นำชีวิต 95 ปีของอาม่าของหมอเอง "

วันนี้ได้มากราบอาม่าที่เคารพรักของผม ท่านอายุ 95 ปีที่มีนบุรี ... คุยกันนานและท่านเล่าเคล็ดไม่ลับความสุข อายุยืนเลย... อยากมาแบ่งปันทุกท่านนะครับ


1. กินแค่พอไม่หิว อย่ากินจนอิ่ม

2. สวดมนต์ไหว้พระวันละ 1 ชั่วโมงอย่างต่ำ

3. กินเจสัปดาห์ละสองวัน

4. นอนแต่หัวค่ำ

5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่าให้อ้วน

6. ปล่อยวางลูกหลาน ทำใจสบายๆ

7. อุจจาระทุกวัน

8. ใช้ชีวิตเรียบง่าย ช้าๆ กินข้าวให้รู้รส หายใจให้เต็มท้อง หัวเราะก็ให้รู้ว่ามีความสุ

9. เตรียมตัววันนั้น... อยู่เสมอ ไม่ประมาทด้วยใจที่สดใส สดชื่น

ด้วยรัก

นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )

Www.cherseryhome.com

...5 เทคนิค " ลืมแก่ " ... ในสมัยนี้ ...

...5 เทคนิค " ลืมแก่ " ... ในสมัยนี้ ...


1. เลือกเสพสื่อเจ๋งๆสมัยใหม่

ตามสื่อแนวสมัยใหม่บ้าง ... ฟังเพลงตามกระแสใหม่ๆบ้าง ดูหนัง ตามข่าวสาร วงการที่ท่านสนใจ หรือเกี่ยวกับงานที่ทำ update ให้ทันสมัย

2. คุยกับคนรุ่นใหม่

คุยแลกเปลี่ยนกับเด็กๆสมัยนี้ ว่า เขาคิดกันอย่างไรในสถานการณ์ต่างๆ อย่างน้อยเราก็มีเห็นความคิดที่แตกต่าง อาจนำมาต่อยอด ต่อเติมความคิดเรา และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันซึ่งลองทำ เปิดใจ รับรองว่า work สุดๆ

3. เลือกใช้ชีวิตในโลก social

บางทีการติดตามในโลกสังคมออนไลน์ต่างๆ ทำให้ท่านได้เห็นมุมมองใหม่ๆ อาจเกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมถึงเจอสังคมเพื่อนๆแห่งใหม่ นำไปสู่การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ได้ idea ดีๆเจ๋งๆซึ่งเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านเอง

4. ยิ้มกับปัจจุบัน

เป็นสุข...อยู่กับปัจจุบัน เลิกฟุ้งซ่านไปในอนาคต หรืออาลัยอาวรณ์กับอดีตที่ผ่าน ... " ตั้งหลักและปัดฝุ่นตัวเอง " ให้ดูดี น่ามอง น่าคบหา พูดและคิดแต่สิ่งดีๆ เสมือนกับการดีจากภายในให้เป็นประกายออกมาเป็นออร่าสู่ภายนอก... อันนี้จะกลายเป็นคนที่ลืมแก่ได้จากตัวตนภายในจริงๆ

5. เลือกรับประทานอาหาร

เลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ เน้นผักและผลไม้ เน้นครบห้าหมู่ ลดอาหารที่เป็นพวกแป้งน้ำตาล ของหวาน รวมไปถึงการเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยและควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ...ให้ดูสวยหล่อสมส่วน... นับว่าข้อนี้จะเป็นยาอายุวัฒนะให้ท่านจริงๆ

นพ. เก่งพงศ์ ( หมอเก่ง )

Www.cherseryhome.com

ขอบคุณภาพสวยๆจาก Cr: www.wisegeek.com

" 3 เหตุผลที่ผู้สูงวัยจำเป็นจะต้อง มีความคิดสร้างสรรค์ตลอดเวลา "

" 3 เหตุผลที่ผู้สูงวัยจำเป็นจะต้อง มีความคิดสร้างสรรค์ตลอดเวลา "


1. ลับสมองให้ปิ๊งๆ

กระตุ้นสมองให้แล่นอยู่ตลอด ลับให้คม การฝึกคิด เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา นอกจากจะเป็นการเพิ่มช่องทาง เปิดรับความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังเป็นการคงระดับและอาจเพิ่มพูนประสิทธิภาพของสมองของผู้สูงวัยอีกทางหนึ่งด้วย

2. ป้องกันจิตใจไม่ให้เฉา

เป็นที่ทราบกันดีว่าความคิดสร้างสรรค์จะทำให้เกิดแรงผลักดันทั้งด้านบวกขึ้นในจิตใจ เป็นแรงขับดันภายในตัวตนที่มีอยู่แล้วได้ทุกคน ... แต่การได้ " ย้ำกับตัวเอง " ฝึกการมีความคิดสร้างสรรค์ในทุกๆอย่างในชีวิตประจำวัน จะสร้างแรงบันดาลใจและกำลังใจได้ดีอย่างมาก
ความคิดสร้างสรรค์นั้นอาจสอดแทรกเข้าไปในกิจกรรม ที่ทำอยู่เป็นประจำเช่นอาจจัดวางตกแต่งบ้านมุมเล็กๆน่ารักๆตอนทำงานบ้าน ประดิษฐ์หรือทำของกระจุกกระจิกเพื่อใช้เองภายในบ้าน หรือแม้แต่การคิดค้นเมนูอาหารจานเด็ดใหม่ๆทำอาหารให้คนในบ้านได้ลองทานกันดูในแบบที่ไม่เคยทำ ... ก็เป็นตัวอย่างที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกมาให้ปรากฏได้ ... แล้วยิ่งได้เสียงตอบรับที่ดีจากคนรอบข้างแล้ว ท่านลองสังเกตดูว่า จิตใจของท่านจะเบิกบานเป็นสุขมากเลยทีเดียว

3. ไอเดียที่เกิดนั้นอาจเปลี่ยนโลก

หมอเชื่อว่าผู้สูงวัยแต่ละท่านมีประสบการณ์ชีวิตที่สะสมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผสานกับประสบการณ์ความช้ำชองเชี่ยวชาญในงานที่ผ่านมา หากได้ผสมกับความคิดสร้างสรรค์ที่ท่านพยายามใส่เข้าไปแล้ว หมอก็เชื่อว่าสิ่งที่ท่านคิดและทำ อาจจะเป็นไอเดียดีๆเจ๋งๆ ประดิษฐ์คิดค้น สร้างขึ้นมาใหม่ที่อาจมีค่า มีประโยชน์ หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนโลกได้นะครับ

ลองดูนะครับ ... ได้อย่างไรลองคุยกันได้นะครับ

ด้วยรัก

นพ.เก่งพงศ์ ( หมอเก่ง )

Www.cherseryhome.com

ขอบคุณภาพสวยๆ Cr:www.seniorlivingresidences.com

" 5 เทคนิคเจ๋งๆในการสื่อสาร กับผู้สูงวัยที่มีปัญหาหลอดเลือดสมอง "

" 5 เทคนิคเจ๋งๆในการสื่อสาร กับผู้สูงวัยที่มีปัญหาหลอดเลือดสมอง "


1. สบสายตา

การพูดแบบสบตาผู้ฟังพูด ให้ช้าๆ และอาจเพิ่มการเน้นคำ สรุปหรือการทวนประเด็นที่สำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ฟังเกิดความเข้าใจมากที่สุด

2. เงียบเพื่อฟัง

ปิดทีวีหรือวิทยุ รวมไปถึงลดเสียงรบกวนอื่นๆ ที่จะทำให้ไม่มีสมาธิในการฟังของทั้งสองฝ่าย

3. สังเกตท่าทาง

ผู้ฟังควรฟังผู้สูงวัยอย่างตั้งใจ รวมไปถึงการสังเกตท่าทางทางกายที่ผู้สื่อสารพยามจะอธิบายด้วย จะทำให้เข้าใจกันได้มากขึ้นนะครับ

4. ให้เวลา

พยายามไม่เสแสร้งหรือพยายามแสดงว่าคุณเข้าใจแล้วแต่ยังไม่เข้าใจ ... รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการที่จะรวบรัดตัดความขณะที่ผู้ป่วยกำลังสื่อสาร เพราะจะทำให้ผู้สูงวัยเกิดความไม่มั่นใจและไม่อยากที่จะพูดหรือสื่อสารอีก

5. เลือกคำเข้าใจง่าย

เน้นการสื่อสารที่เรียบง่ายและเป็นส่วนตัว ใช้คำง่ายๆสั้นๆ ได้ใจความ อาจใช้ภาพหรือสีมาประกอบบางอย่างที่ต้องการสื่อสารได้จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้น... รวมไปถึงจะทำให้โดยความร่วมมือที่ดีขึ้นและความเข้าใจกันที่มากขึ้น

... และทั้งหมดนี้ผู้ดูแลควรตั้งอยู่ในอารมณ์ที่ดี ใจเย็น และนึกถึง ประโยชน์ที่จะเกิดจากการกระตุ้นให้ผู้สูงวัยที่มีปัญหาด้านการสื่อสารโดยแสดงออกบอกความต้องการผ่านการพูดและการฟังซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตของผู้สูงวัยของท่านต่อไป ...

ด้วยรัก

นพ. เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )

Www.cherseryhome.com

ขอบคุณถาพสวยๆจาก Cr: www.hahcare.com

" สังเกต 7 ลักษณะที่มีโอกาสเป็นผู้สูงวัยที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร "

" สังเกต 7 ลักษณะที่มีโอกาสเป็นผู้สูงวัยที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร "

ลองสังเกตคนใกล้ชิดของท่าน ... บุคคลใดบ้างที่มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้สูงวัยขาดสารอาหาร ... ลองมาดูกันนะครับ


1. ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย

ผู้สูงวัยที่ไม่สามารถจัดการหรือมีกิจวัตรประจำวันได้เองหรือโดยมากคือนอนติดเตียงไม่ค่อยออกด้วยลุกไปไหน

2. อยู่โดดเดี่ยว

ผู้สูงวัยที่อยู่คนเดียว โดยที่มีโรคประจำตัวมาก ได้รับการผ่าตัดโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร แต่ไม่มีผู้ดูแลเรื่องอาหารการกินรวมถึงน้ำดื่มที่สะอาดเพียงพอ

3. ปัญหาเคี้ยว กลืน ช่องปาก

ผู้สูงวัยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเคี้ยว การกลืน และปัญหาในช่องปากเช่นปัญหาฟันบดเคี้ยวน้อย โรคเหงือกอักเสบรวมถึงฟันผุเป็นต้น

4. ยา

ผู้สูงวัยที่มีการใช้ยามีผลกระทบต่อความอยากอาหาร เกิดความง่วงซึม คลื่นไส้อาเจียน เกิดภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย หรือเกิดเท้องผูกบ่อยๆ

5. รับรู้แย่ลง

ผู้สูงวัยที่มีปัญหาเกี่ยวกับประสาทสัมผัสทั้งห้า อาทิ การมองเห็น การได้ยิน รับสัมผัส การดมกลิ่น รวมถึงรสชาติอาหาร

6. ปัญหาด้านอารมณ์

ผู้สูงวัยที่มีปัญหาอารมณ์ซึมเศร้ามีอาการทางจิตและอารมณ์อย่างอื่นที่ทำให้เกิดความเครียดและไม่อยากอาหาร เช่น เหงา หงุดหงิดง่าย อยู่ในภาวะแยกจากสังคมรอบข้างและครอบครัว

7. สื่อสารได้ลำบาก

ผู้สูงวัยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการการสื่อสารความต้องการของตนเองเช่นภาวะโรคสมองเสื่อมภาวะอัมพฤกษ์อัมพาตจากสมองรวมถึงการสูญเสียการได้ยินจากสาเหตุต่างๆ

... ลองสังเกตคนใกล้ชิดของท่าน หากมีความเสี่ยงดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อการรับคำแนะนำอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไปนะครับ ...

ด้วยรัก

นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ( หมอเก่ง )

Www.cherseryhome.com

" รวม 5 เทคนิคการป้องกันการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ "

" รวม 5 เทคนิคการป้องกันการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ "


1. ใส่ใจเรื่องยา

รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอและตรวจติดตามกับแพทย์เป็นระยะๆทุกครั้ง และเมื่อได้ยากลับมาบ้านให้ตรวจดูชื่อยา จำนวนเม็ดยาว่าเพียงพอหรือไม่ รวมถึงวันหมดอายุและสภาพซองบรรจุยาว่าอยู่ในเกณฑ์ดีไม่ มีลักษณะบุบสลาย แตกหักเสียหายหรือเปล่า 

2. เตรียมพร้อมข้อมูล

หากเป็นไปได้ควรจดชื่อยาและลักษณะการใช้ไว้ รวมถึงชื่อโรคที่เป็นโรคประจำตัวของท่านและยาที่เคยแพ้ใส่กระดาษติดตัวเพื่อเป็นข้อมูลของตนเอง และหากจะพบแพทย์ในครั้งต่อไปให้เตรียมข้อมูลว่าท่านมีปัญหาในการใช้ยาที่ผ่านมาหรือไม่ พร้อมนำยาที่รับประทานทั้งหมดไปให้แพทย์ตรวจเช็คเป็นระยะๆนะครับ

3. เริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนก่อ

พยามเริ่มต้นการรักษาอาการต่างๆในรูปแบบที่ไม่ใช้ยาก่อน เช่นอาการนอนไม่หลับ ควรเน้นเพิ่มออกกำลังกายทำกิจวัตรประจำวันในช่วงเวลากลางวันที่มากขึ้นจะทำให้ท่านรู้สึกใช้แรงและเหนื่อยมากพอ ที่อาจจะช่วยให้นอนหลับได้ สนิทมากขึ้น หรือหากมีอาการท้องผูก อาจจะเริ่มต้นด้วยการรับประทานอาหารผักผลไม้ที่มีกากใยมาก รวมถึงการดื่มน้ำให้เพียงพอหกถึงแปดแก้วต่อวันก็อาจจะช่วยเรื่องอาการท้องผูกได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งยามากนัก

4. ไม่ควรซื้อยาเอง

หลีกเลี่ยงการซื้อยามารับประทานเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาสมุนไพรยาต้ม ยาลูกกลอน เนื่องจากยาเหล่านี้จะสร้างผลเสียแก่ร่างกายและอาจเกิดปฏิกิริยากับยาที่รับในการรักษาโรคประจำตัวของท่านอีกด้วย

5. ก่อนปรับยาควรปรึกษาแพทย์

ก่อนท่านจะหยุดยาหรือเลิกใช้ยาใดที่ได้รับมา ควรปรึกษาแพทย์ถึงสาเหตุที่จะหยุดยานั้น เช่น เกิดผลข้างเคียงการรักษาไม่ได้ผล หรือ เกิดมีการรับประทานยาที่ซ้ำซ้อนมากจนเกินไป ไม่ควรที่จะหยุดยาเองเนื่องจากอาจส่งผลกระทบกับโรคประจำตัวได้

6. ติดตามต่อเนื่อง

หากเป็นไปได้ควรจะตรวจรักษาและติดตามกับแพทย์และโรงพยาบาลเดิม เนื่องจากจะมีประวัติอาการ และการใช้ยาโดยตลอด หากจำเป็นที่จะต้องรักษาหรือเปลี่ยนโรงพยาบาล ควรจะนำเอาประวัติเก่าในการรักษา รวมถึงยา ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการและประวัติการปรับยาในช่วงที่ผ่านมาไปให้แพทย์ท่านใหม่ดูทุกครั้งเพื่อประกอบการตัดสินใจ วิธีรักษาอย่างเหมาะสม

7. ผู้ดูแล

หากผู้สูงวัยมีปัญหาเรื่องความจำญาติของผู้ป่วยควรจะขอคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อที่จะวางแผนในการรักษาและร่วมดูแล โดยควรจัดหาผู้ดูแลหรือญาติที่ใกล้ชิดเป็นผู้จัดหายาให้กับผู้ป่วย รวมถึงอาหารการกินที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับ เนื่องจากโดยมากการรับประทานยามีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารอยู่ด้วยทุกครั้งการดูแลทั้งสองส่วนคืออาหารและยาจึงมีความจำเป็น

ด้วยรัก

นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ

Www.cherseryhome.com

ขอบคุณภาพสวยสวยจาก Cr:www.houstonhomecompanions.com